วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

Industar-61 ปี 1966-67?

อาจจะเคยได้ยินเรื่องราวจากเว็บดังเว็บหนึ่ง ที่กล่าวเอาไว้ว่าเจ้าเลนส์ Industar-61 เริ่มต้นโครงการในปี 1966 และใช้ชิ้นเลนส์ของ Zeiss?
ผมเลยขอก็อปบทความของผมในเพจเฟซบุ๊ค "Boatski กล้องฟิล์ม" มาให้ลองอ่านกันดูนะครับ..

part 1
วันนี้ขอเสนอวิธีดู Industar-61 ปี 1966 กันนะครับ
จุดที่สังเกตหลักๆเลยก็คือ
-ต้องเป็น 52mm เท่านั้น เลนส์รุ่นนี้มีสามระยะคือ 52mm 53mm และ 55mm ...จากการสังเกต 53mm นั้นจะเริ่มในปี 1987 โดยในปีนี้จะมีทั้งสองช่วงคือ 52 และ 53 ครับ แต่ในส่วนนี...้มันแกะสลักไว้บนชิ้นเดียวกับ serial number จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา
-กลีบรูรับแสง (Aperture blades) ต้องมี 10 ใบ
-ดูสีโค้ทที่ชิ้นเลนส์หน้านะครับ ถ้าเป็น 1966 จะออกเป็นสีม่วง โดยสีเหลืองจะโค้ทอยู่ข้างใน(ถ้าจำไม่ผิดนะครับ พอดีขายไปหมดแย้ว แต่ที่ชิ้นเลนส์หน้าต้องสีม่วงเท่านั้น) จากรูป ตัวซ้ายคือตัวที่ยำมา โค้ทเป็นสีเหลืองหมด ผมคิดว่าเขาคงเอามาจากตัว 55mm ครับ
หลักๆคงจะมีเท่านี้ครับ แล้วก็จุดเล็กจุดน้อยคือ (รูปล่างขวา) สีที่แต้มหัวสกรูต้องไม่หลุดออกครับ
 
Part 2.
มาดูเรื่องของ Industar-61 อีกนะครับ
อาจจะได้ยินมาว่าเลนส์ตัวนี้เริ่มทำเมื่อปี 1966 จากเว็บดังแห่งหนึ่ง
พอดีผมมันพวกหัวรั้น เลยพยายามหาข้อมูลมาว่ามันจริงหรือไม่ แล้วก็พบว่า
เลนส์ตัวนี้ผลิตมาก่อนปี 1966 เสียอีก เก่าที่สุดที่ผมเจอคือ 1964 ครับ และยังไม่รวมรหัสที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0 1 หรือ 2 ที่ผลิตก่อนหน้านั้น
แม้แต่ฝรั่งเขาพูดกันว่ามันก็เป็นชิ้นเลนส์เดียวกันกับ Industar-26 เพียงแต่ว่ามันสามารถปรับ f แบบมีคลิก
จะบอกว่าเอาชิ้นเลนส์มาจาก Zeiss จริงหรือเปล่า?
เรื่องการเอาเลนส์มาจาก Zeiss นั้น Jupiter ก็เอามาแล้วในชื่อ ZK ซึ่งหมดตั้งแต่ต้นๆยุค 50 ดังนั้นผมจึงไม่คิดว่าตัวปี 1966 ยังจะเอาเลนส์ของ Zeiss มาใช้
และจากข้อมูลที่ผมหามานั้น ไม่มีใครพูดถึงเลยว่า Industar 61 ปี 1966 นั้นเอาชิ้นเลนส์มาจาก Zeiss...

แต่ถึงกระนั้น ภาพที่ได้จากเลนส์ในปี 1966 กลับมีความคมและคอนทราสท์จัดกว่า

ผมเลยสรุปว่า เรื่องตำนาน ฟังหูไว้หู แต่เรื่องใช้งาน ให้รีบคว้าเลยครับ ที่ผมขายไปแล้วสองตัว ผมยังเสียดายจนถึงทุกวันนี้ ฮือๆ..
 

Part 3. ส่วนนี้ผมสรุปจากความเห็นส่วนตัวและหลักฐานที่ผมค้นหามานะครับ..
จากเว็บ Sovietcam กล่าวเอาไว้ว่า เขาค่อนข้างมั่นใจว่าเจ้าเลนส์ตัวนี้ เริ่มขายเมื่อปี 1962 ครับ
ผมเชื่อเจ้านี้เพราะเขามีข้อมูลเยอะมาก ดังนั้นเรื่องตำนาน 1966-1967 แห่งพันทิป ผมขอสรุปว่าไม่จริงนะครับ เรื่องเอาเลนส์ zeiß มาใ...ช้ คิดว่าไม่จริง เพราะ
-โซเวียตเน้นผลิตแบบ mass production เพื่อให้เกิด Economy of Scale (ถ้าจำไม่ผิด) ดังนั้นต่อให้มีชิ้นเลนส์เหลือหลังสงคราม มันก็คงหมดในไม่กี่ปี อย่างพวกเลนส์ ZK (ชิ้นเลนส์เยอรมัน) เปลี่ยนชื่อเป็น Jupiter (ชิ้นเลนส์โซเวียต) ตั้งแต่ต้นยุค 1950
-เรื่องคุณภาพ optic ดีนั้น คาดว่าน่าจะมาจากการควบคุมการผลิตที่ดี เพราะเคยมีคนทดสอบว่าเลนส์ยุคหลังๆจะสู้ยุคแรกไม่ได้
-ถ้าจะบอกว่าชิ้นเลนส์จากเยอรมันเป็นช่วง 52 mm ยุคหลังเอาชิ้นเลนส์จาก jupiter 12 มาแปลงใช้เลยกลายเป็นช่วง 55 mm ทำไมช่วง 52 mm ถึงมีถึงปี 1987
...ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวของผมที่เสนอด้วยหลักฐานเพื่อหักล้างสมมติฐานจากท่านคนดังในพันทิป โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านครับ ^^
 
ส่วนสุดท้ายเป็นของแถมครับ ประเภทรุ่น Uncommon
จาก eBay ของชาวลิทัวเนีย
 
ตัวในรูปเป็นตัวที่แทบจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันสักเท่าไหร่ คือใช้หน่วยระยะเป็น ฟุต ครับ
พบใน FED 4 ในรุ่นอื่นๆยังไม่เคยเจอครับ
 
หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างนะครับ ^^

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Wide aperture battle.Elmar VS Industar 50 VS Jupiter 8

ซื้อเลนส์รูรับแสงกว้างงงง มาใช้ ก็ต้องเปิดให้สุด มีเท่าไหร่เปิดให้หมด...
ไม่มีอะไรครับ พอดีจับเลนส์สี่ตัวมาทดสอบให้ชมกัน ว่าประสิทธิภาพของแต่ละตัวเมื่อรูรับแสงกว้างสุดนั้นเป็นอย่างไร
เข้าเรื่องเลยดีกว่า ^^
เลนส์ที่เอามาทดสอบนั้น มีอยู่สี่ตัว คือ
-Leitz Elmar 50mm f/3.5
-Industar-50 50mm f/3.5 (Rigid)
-Industar-50 50mm f/3.5 (Collapsible)
-Jupiter 8 50mm f/2

การทดสอบ ผมได้ถ่ายย้อนแสงหลอดไฟ เพื่อดูความฟุ้งของภาพ เลนส์ที่ดีจะไม่ฟุ้งจนรายละเอียดหายครับ
ผมจะตัดเรื่องสีของเลนส์ เพราะลืมตั้ง WB แบบ Manualและเรื่องการไล่แสงเงาซึ่งต้องดูกันเอง เพราะผมดูไม่เป็นครับ แหะๆ
ผลการทดสอบ ออกมาดังนี้

-Leitz Elmar 50mm f/3.5
ก่อนหน้านี้ผมได้เอามาลองถ่ายเทียบกับ Industar-50 (Rigid) แล้วพบว่า เลนส์เยอรมันแพ้เลนส์รัสเซีย ซึ่งผมก็สงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร หลังจากนั้นก็พบว่าหน้าชิ้นเลนส์ Elmar ตัวนี้มีคราบสารหล่อลื่นอยู่ภายใน เลยส่งไปทำ CLA ทั้งตัวกล้อง ตัวเลนส์ หมดค่าเสียหายซื้อกล้องรัสเซียได้หนึ่งตัวพอดี
ตอนนี้เลยเอามาทดสอบใหม่ ซึ่งก็ให้ผลที่น่าประทับใจ คือ บริเวณกลางภาพคมชัดดี ตัวอักษรชัด สังเกตบริเวณหลอดไฟนะครับ ฟุ้งน้อยมากๆ และภาพไม่เป็นหมอกๆเหมือนเอาเลนส์เป็นฝ้ามาใช้ แต่สังเกตดีๆจะพบแฟร์บริเวณขอบภาพครับ

 

Leitz Elmar 50mm f/3.5 @f/3.5
 
Leitz Elmar 50mm f/3.5 @f/18

-Industar-50 50mm f/3.5 (Rigid)
เลนส์ราคาไม่แพง ทำให้ผมต้องตะลึงกับประสิทธิภาพของมัน คือมันให้ภาพที่คมชัดมากๆ ตัวอักษรนั้นคมชัด สีดำสนิทต่างจาก Elmar แต่กลับให้ภาพบริเวณแสงที่เป็นฟุ้งกว่า (เลนส์แพ้แสงจ้าๆอย่างหลอดไฟ) ส่วนเรื่องแฟร์นั้น กลับทำได้ดีกว่าเลนส์ Elmar ครับ


 
Industar-50 50mm f/3.5 @f/3.5
 
Industar-50 50mm f/3.5 @f/16


-Industar-50 50mm f/3.5 (Collapsible)
ตัวนี้โดยรวมแล้วเหมือนกับตัวด้านบนที่ยืด-หดเลนส์ไม่ได้ครับ ชิ้นเลนส์น่าจะชิ้นเดียวกัน แต่งงคือภาพที่ได้กลับคมน้อยกว่านิดหนึ่ง และควบคุมความฟุ้งของแสงไฟไม่ดีเท่า
ส่วนตัวคาดว่าน่าจะมาจากอายุของเลนส์ที่มากกว่า หรือ QC ไม่ดี แต่โดยรวมนั้นยังอยู่ในขั้นดี




-Jupiter 8 50mm f/2
เลนส์ไวแสงจากรัสเซียอีกตัว ตัวนี้จะเป็นเวอร์ชั่นท้ายๆของรุ่นนี้ แน่นอนว่ามันใหม่กว่าตัวอื่นๆ
ที่รูรับแสงกว้างสุดนั้นฟุ้งตามประสาเลนส์ไวแสงยุคเก่า แต่การควบคุมความฟุ้งของแสงนั้นทำได้ดีมาก พอๆกับเลนส์ Leitz Elmar ที่เอามาทดสอบ
หากหรี่รูรับแสงลงเป็น f/4 ภาพที่ได้ถือว่าคมใช้ได้ ถึงไม่เท่า Industar-50 แต่ก็สูสี ไม่ใช่ว่าเลนส์ไม่ดีนะครับ แต่ Industar-50 มันดีมาก ภาพที่ได้มันจึงคมเหมือนเลนส์ในยุคดิจิทัล




สรุป
Leitz Elmar 50mm f/3.5 เป็นเลนส์ที่ดีครับ ดีมาก ราคาสูงมาก การประกอบเนี้ยบ แต่ถ้าวัดเรื่องความคุ้มค่าแล้ว Industar-50 50mm f/3.5 จะคุ้มกว่ามากๆ เพราะเลนส์ Elmar ตัวเดียว สามารถซื้อเลนส์ Industar-50 ได้ราวๆเกือบห้าตัว ความคมของสองตัวนี้ใกล้เคียงกัน ความคมของ Elmar นั้นจัดว่าดีมาก แต่ยังแพ้ Industar-50 อยู่น้อยมากๆ แต่ว่าการความคุมความฟุ้งบริเวณแหล่งกำเนิดแสง Elmar ทำได้ดีกว่า เรื่องแฟร์ Elmar สู้ Industar-50 ไม่ได้ครับ เกิดแฟร์อย่างชัดเจน ในขณะที่ Industar-50 นั้นเกิดน้อยกว่า ส่วนในสี Elmar ให้สีที่ตรงกว่าในขณะที่ Industar-50 ให้สีติดเหลือง(โทนอุ่น)มากกว่าครับ

ส่วน Jupiter 8 นั้น จริงๆจะไม่ได้เอามาเทียบเพราะว่าสามตัวแรกนั้นมันเกี่ยวโยงกัน คือ Industar-50 จัดว่าเป็น Elmar copy เลยมาเปรียบเทียบกันให้ดู แต่พอดีได้เลนส์มา เลยเอามาทดสอบให้ดูครับ
ที่รูรับแสงกว้างสุดนั้นฟุ้งทั้งภาพครับ ไม่คม แต่เป็นปกติของเลนส์ราคาไม่แพงยุคนั้น (เลนส์ราคาถูกอย่าง Nikkor 50mm f/1.8D ที่รูรับแสงกว้างสุดก็ฟุ้งครับ แต่น้อยกว่า Jupiter 8 หน่อย) หากรี่ลงมาที่ f/4 จะคมใช้ได้ แต่ก็ไม่เท่าสามตัวด้านบน การความคุมความฟุ้งที่แหล่งกำเนิดแสงทำได้ดีมากครับ หากถามว่าฟุ้งๆจะไปถ่ายอะไรได้ คือถ่ายได้ครับ ขนาดเลนส์ที่ทำขายแพงๆเขายังทำให้ฟุ้งกันเลย (พวก Soft focus อย่าง Mamiya 150mm สำหรับ RB67) ถ่ายรูปพอร์ตเทรตแนวฟุ้งๆ รูปเด็ก ประมาณนี้ครับ
สุดท้ายนี้อยากจากบอกว่า จะถ่ายรูปสวย-ไม่สวย ไม่ได้อยู่ที่ความคมของเลนส์ครับ ^^
ขอให้ถ่ายภาพอย่างมีความสุขครับ ^^

ปล.บททดสอบนี้ไม่ได้ชี้ชัดว่าเลนส์ตัวไหนดีที่สุดนะครับ มันอยู่ที่การใช้งานจริงด้วย แค่รูปถ่ายจัดแสงไฟมันอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินว่าตัวไหนดีที่สุดครับ

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โหมดต่างๆบนตัวกล้อง(M A P S)

M A P S
คือ Creative modes ซึ่งเป็นโหมดที่ยอมให้เราปรับค่าต่างๆได้เอง โดยเฉพาะโหมด Manual นี่จะสามารถปรับได้ทั้งหมด
เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าแต่ละโหมดต่างกันอย่างไรและจะเอาไว้ใช้ตอนไหน

     Manual ชื่อก็บอกแล้วว่าทำเอง ปรับเอาเอง (Manual มีรากศัพท์มาจาก Manu- แปลว่าด้วยมือ) ดังนั้นโหมดนี้จะยอมให้สามารถปรับค่าทุกอย่างเองได้หมดโดยที่กล้องจะไม่ไปวุ่นวายกับค่าที่เราตั้งเอาไว้ หลายคนคิดว่าใช้โหมดนี้แล้วจะเก่ง ทำให้เรียนรู้ได้ไว อันนี้ขอเถียงว่าไม่จริง ยืนยัน นอนยัน กระโดดยันสองทีนได้เลย ถ้าอยากเรียนรู้ได้ไวก็ไปเปิดหนังสือนู่น ว่าวัดแสงที่สีนี้ชดเชยยังไง dial หมุนที่ละกี่ step (หลายคนเรียก stop แต่ก็ใช้ได้ทั้งคู่ หรือจะเรียกว่า EV ก็ได้) ความเร็วชัตเตอร์เท่านี้ๆพอมั้ย ต้องการให้ DOF มากๆทำยังไง ฯลฯ
แต่สำหรับผมแล้ว ผมถนัดโหมดนี้ที่สุด สาเหตุเพราะ
1. ขี้เกียจกดปุ่ม AE lock ขี้เกียจหมุนชดเชยแสง
2. ใช้มานานแล้ววัดแสงก็แม่นแล้ว และไม่ได้เร่งรีบอะไร
     ประโยชน์ของโหมดนี้คือ เหมาะกับสภาพแสงเดิมๆ ต้องการความเร็วชัตเตอร์เดิมๆ ระยะชัดเดิมๆ พูดง่ายๆคือสถานการณ์เดิม เช่นถ่ายในห้องปิดโดยไม่ใช้แฟลช มีแสงจากหลอดไฟและคงที่ เป็นต้น และข้อดีอีกข้อของมันคือสามารถกำหนดความเร็วชัตเตอร์ได้เองในโหมดความเร็วชัตเตอร์ bulb หรือเปิดม่านชัตเตอร์จนกว่าจะปล่อยมือออกจากปุ่ม เช่นตอนถ่ายพลุ เราก็กำหนดได้ว่าจะเปิดรับแสงตอนไหน จะหยุดรับแสงตอนไหน เป็นต้น แต่ข้อเสียคือถ้าเจอสภาพแสงเปลี่ยนไปตลอดๆ เดี๋ยวเข้าร่มเผลอแป๊บเดียวออกมากลางแจ้งแล้วก็เข้าร่มไปอีก(ถ้ามันมีนะ แหะๆ) หรือพูดง่ายๆคือเดี๋ยวมืดลงเดี๋ยวสว่างขึ้น โหมดนี้ไม่ทันกินแน่นอน เว้นแต่คนถ่ายจะแม่นเรื่องวัดแสงจริงๆ

     Aperture priority (หรือโหมด Av ใน Canon) Aperture หรือรูรับแสง สงสัยมั้ยว่ารูรับแสงเอาไว้ทำอะไร? คร่าวๆคือเอาไว้ปรับระยะชัดของภาพ หรือ Depth of Field ซึงตัวแปรนี้คือคำตอบของคำถามประเภท "ทำอย่างไรให้หน้าชัด หลังเบลอ?" (จริงๆอยากให้หน้าชัดก็โฟกัสที่ด้านหน้าสิฟระ ไปโฟกัสด้านหลังก็หน้าเบลอหลังชัดพอดี) ทดลองง่ายๆคือลองมองวัตถุๆหนึ่งใกล้ๆแล้วลืมตาจนสุด กับหรี่ตาให้มากเท่าที่จะยังมองเห็นอยู่ จะพบว่าเมื่อหรี่ตาเราก็จะเห็นว่าระยะชัดนั้นมากขึ้น แต่วิธีที่ง่ายคือเอากล้องมาทดลองเลยดีกว่า
สรุปแล้วรูรับแสงมีผลต่อ
1. ระยะชัดจากจุดที่โฟกัส รูรับแสงกว้าง ระยะชัดจะน้อย รูรับแสงแคบ ระยะชัดจะมาก และจำไว้ว่าระยะชัดจากจุดโฟกัสจะแบ่งออกเป็นสามส่วน หน้าจุดโฟกัสหนึ่งส่วนและหลังจุดโฟกัสอีกสองส่วน
2. ขนาดของแหล่งกำเนิดแสง ถ้าลองไปถ่ายรูปรถวิ่งโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆดู จะพบว่าเส้นของไฟรถจะใหญ่เมื่อเราใช้รูรับแสงกว้าง และเล็กเมื่อเราใช้รูรับแสงแคบ กล่าวคือขนาดของแหล่งกำเนิดแสงแปรผันกับขนาดรูรับแสง
     สถานการณ์ที่เหมาะกับการใช้โหมดนี้คือ เราต้องการระยะชัดที่แตกต่างกันไปโดยไม่สนใจความเร็วชัตเตอร์และสภาพแสง โดยโหมดนี้จะยอมให้ปรับค่าได้ทุกอย่างยกเว้นความเร็วชัตเตอร์ (แต่กล้องบางรุ่นสามารถตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ขั้นต่ำได้) เช่นถ้าจะถ่ายนางแบบโดยใช้เลนส์ฟิกซ์ สมมุติว่าใช้ 85mm f/1.4 ก็แล้วกัน ถ่ายเต็มตัว ใช้ 1.4 อาจจะได้ระยะชัดที่กำลังเหมาะ แต่ถ้าถ่ายโคลสอัพใบหน้าแบบใกล้ๆอาจจะชัดแค่ตาแต่จมูกเบลอ ดังนั้นเราก็ปรับเพียงแค่ dial ลดขนาดรูรับแสงเท่านั้นไม่ต้องไปสนใจค่าอื่น และไม่ว่าสภาพแสงจะเป็นอย่างไร กล้องก็จะคำนวณความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้เอง แต่โหมดนี้ต้องอาศัยการชดเชยแสงด้วย!
      85mm f/1.4 แล้ว f/1.4 คืออะไร? f คือทางยาวโฟกัส ในที่นี้คือ 85mm f/1.4 ก็คือ 85/1.4 จะได้เส้นผ่านศูนย์กลางของรูรับแสงคือ 60.71mm หรือ 2893.3 square.mm. นั่นเอง

     Shutter priority (หรือโหมด Tv ใน Canon) คล้ายๆกับ Aperture priority กล้องยอมให้เราปรับทุกอย่างยกเว้นขนาดของรูรับแสง ต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุก็ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ กล้องรุ่นใหญ่ๆส่วนมากจะปรับได้สูงสุดที่ 1/8000 วินาที
     เหมาะสำหรับว่าเราต้องการหยุดให้วัตถุอยู่นิ่งหรือจะแพนตามวัตถุไป จะมีประโยชน์มากกรณีถ่ายแนว Street Life ที่เราไม่ต้องการเน้น DOF แต่เน้นอารมณ์และความรู้สึก

     Program โหมดนี้ไม่มีอะไรมาก คือตัวกล้องจะคำนวณความเร็วชัตเตอร์และขนาดของรูรับแสงให้เองแต่ก็ยังพอปรับรูรับแสงได้ และค่าอื่นๆก็ยังปรับได้ตามปกติ พูดง่ายๆคือ มันก็คือโหมดออโต้ที่ยืดหยุ่นนั่นแหละ (อย่างใน D700 dial หลังจะปรับรูรับแสง และ dial หน้าจะชดเชยแสง) โหมดนี้เป็นโหมดที่ผมไม่ค่อยได้ใช้ พูดง่ายๆคือไม่เคยใช้เลยไม่รู้จะอธิบายว่าอย่างไรดี

สรุปแล้ว
แสงก็เหมือนกับน้ำ
รูรับแสงก็เหมือนวาล์วน้ำ
ความเร็วชัตเตอร์ก็คือเวลา
เซ็นเซอร์รับภาพก็เหมือนถังน้ำ

เปิดวาล์วน้ำกว้าง น้ำก็เต็มไว ไม่ต้องใช้เวลามาก
ใช้เวลานานๆก็ไม่ต้องเปิดวาล์วกว้าง ทุกอย่างต้องสมดุล
ถ้าเปิดวาล์วกว้างเกินไป น้ำก็ล้น(ภาพจ้า)
ถ้าใช้เวลาเปิดวาล์วน้อยเกินไป น้ำก็ไม่เต็ม(ภาพมืด)

    ทุกอย่างก็เป็นแค่แนวทาง ไม่ได้ว่าต้องทำตามเป๊ะๆ อย่างผมถนัดโหมด M เพราะเหตุผลที่บอกข้างต้น โหมดอื่นขี้เกียจใช้ แต่ก็ยังมีใช้บ้างตามสถานการณ์ ใครใคร่ใช้โหมดไหนก็ใช้ไปตามถนัดนั่นแล...


ยกตัวอย่างจากรูปในหนังสือ อันนี้โหมด M เพิ่มความสว่างกับปรับคอนทราสต์ (เพราะตอนนั้นผมวัดแสงไม่แม่นจริง) แค่อยากจะบอกว่า โหมดอะไร ถ้าถูกจังหวะ ถ่ายให้เป็น มันก็ดูดีหมดนั่นแหละ รูปนี้ใช้รูรับแสงไม่แคบมาก เพราะแค่นี้ DOF ก็ครอบคลุมเกือบหมดแล้ว



แถมให้ นี่คือรูปคู่สี เกี่ยวข้องกับ White balance และการถ่ายภาพ เอามาจากโพสต์ของพี่แอ่ว RBJ (ช่างภาพชื่อดังจากเว็บ Pixpros) เคยได้คุยกันอยู่สองครั้ง สองวัน วันแรกไปซื้อกล้อง วันที่สองไปซื้อเลนส์ ฮา ...พี่เขาให้ความรู้เต็มที่ เสียดายไม่มีเวลา อดได้ความรู้จากพี่เขาไปเลย

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Mini review : Tokina Pro AT-X 17-35 F4

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมารีวิวเจ้าเลนส์ Tokina 17-35 F4 ซึ่งเป็นรีวิวแรกของผม
โดยเจ้าเลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์สำหรับกล้อง Full Frame 35mm นะครับ สำหรับใครที่ใช้กล้องตัวคูณ 18-55 ที่ติดกล้องมายังจะมีประโยชน์กว่าครับ ^^
สเป็คเลนส์ ตามลิงค์เลยครับ http://www.tokinalens.com/tokina/products/atxprofx/atx1735f4profx/
งานประกอบถือว่าใช้ได้เลย ดูแน่นหนา ปรับโหมดโฟกัส M-AF แบบเลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลัง  (One-touch Focus Clutch Mechanism) เหมือน Tamron 70-200 F2.8 แต่ตัวที่ผมซื้อมาใช้เองนี่ยางโฟกัสติดไม่ตรงแฮะ
ท้ายเลนส์มียางกันฝุ่นครับ ทาง Tokina เองเคลมมาว่าตัวเลนส์ออกแบบมากันละอองน้ำ แต่ผมไม่กล้าทดสอบเหมือนกัน ถ้าเลนส์ทางบริษัทให้มาทดลองก็ว่าไปอย่าง อิอิ เข้าทำนองว่า “ของๆใคร ของใครก็ห่วง”



มาดูปัญหาสำหรับเลนส์มุมกว้างตัวนี้กัน Flare ครับ ที่ 17mm ถ่ายย้อนแสงตรงๆ เจอแฟร์มหาโหดเลยครับ

อีกรูปครับที่มุมซ้ายล่างของภาพ เทียบกับของ Tamron 17-35 F2.8-4 แล้ว Tamron นี่เด็กๆไปเลย
แต่ถ้าเล็งมุมดีๆบางมุม Flare มันหายไปซะอย่างนั้น

อีกรูปครับ

มุม 17mm ที่ F4 เมื่อใช้กับกล้องฟูลเฟรมแล้วทำให้ฉากหลังละลายได้มากพอสมควรเหมือนกัน
พูดเรื่องสีของ
Tokina สำหรับตัวนี้แล้ว ส่วนตัวผมว่าไม่ได้ซีดอย่างที่เขาพูดกันนะครับ สีก็สดใช้ได้แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าพวก Nikon แต่ถ้าเป็น Tokina 28-70 F2.8 Pro II นี่ซีดของจริง แต่เรื่องสีผมไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่ก็จบที่โปรแกรมกัน ^^

^^


ที่มุม 35mm บ้าง อันนี้ถ่ายเป็นขาวดำจากกล้อง

อีกรูปกับมุม 35mm ครับ ถ่ายคนแบบครึ่งตัวทำฉากหลังละลายได้ดี แต่ใครที่หน้าเรียวมากๆนี่เลนส์จะยืดดดหน้าให้ยาวอีกเล็กน้อย ถ้าคนหน้ากลม เลนส์ตัวนี้ช่วยได้บ้าง


มาดู Distortion ที่ 17mm กันนะครับ
ตามแนวเสาอาคาร ลองพิจารณาดูครับผม ในมุมมองของผมเองเนี่ย มันแทบจะเป็นเส้นตรงเลยทีเดียว แค่เอนเอียงไปตาม
Perspective ของช่วงเลนส์เท่านั้น

ขอสรุปเลยนะครับ
ข้อดี
-          - Distortion น้อยมาก
-          - มี Weather seal กันละอองฝุ่นและน้ำได้บ้าง เทียบกับคู่แข่งอย่าง Tamron 17-35 F2.8-4 ที่ไม่มี
-         -  เป็น Internal Focus วงแหวนโฟกัสไม่หมุนขณะใช้โหมด AF และกันคนที่ไม่เคยใช้ DSLR มาหมุนเล่นให้เลนส์พัง ซึ่งผมเจอบ่อย จับปุ๊บ มาหมุนวงแหวนโฟกัสปั๊บ วัยรุ่นเซ็ง!
-        -   ที่กลางภาพ คมมากตั้งแต่ F แรก ขอบภาพที่ 17mm พอๆกับ Tamron แต่ที่ 35mm นี่ไม่ค่อยประทับใจกับเลนส์ระดับนี้ (แต่ก็ยังอยู่ในขั้นพอรับได้ครับ)

ข้อเสีย
-           -เพราะไอ้ที่ Distortion มันน้อย บางทีจะถ่ายมุมกดให้เห็นเป็น “เดอะ ด็อก” นี่ยากหน่อย ไม่น่าจะเป็นข้อเสียสักเท่าไหร่ แต่เอาเป็นว่าไม่ค่อยประทับใจคนถ่ายอารมณ์ศิลป์สักเท่าไหร่ครับ แหะๆ แต่คนที่ชอบถ่ายอาคารบ้านเรือน คงจะชอบนะ
-          - หน้าเลนส์ 85mm ฟิลเตอร์มันแพงงงงง
-          - การโฟกัสบน D800 ยังวืดวาดเล็กน้อย แต่ถือว่ารับได้ครับ ไม่ได้ถึงขั้นที่เรียกว่าช้า
-          - มาถึงก็ F4 สงสัยจะชอบนักร้องไต้หวัน (เอ๊ะ ใช่รึเปล่า?) น่าจะเป็น 2.8-4 อย่าง Tamron ก็ยังดีนะ

หมดแล้วครับสำหรับรีวิวเล็กๆน้อยๆ ใจจริงอยากทำให้มันดีกว่านี้ แต่ไม่มีเวลาออกไปไหนเลย งานที่ได้ก็เลยได้เท่านี้ครับ T_T

ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบครับผม ^^
ปล.รูปสุดท้าย ที่
35mm F4 กลางภาพคมมาก คมกว่า Tamron ส่วนตัวแล้วประทับใจกับเลนส์ตัวนี้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กำลังจะรีวิว Tokina 17-35 แย้ว

ด้วยความที่ว่า ผมแทบไม่ได้ออกไปไหนมาไหนเลย อยู่ในป่าในดงกับพ่อแม่ เลยทำให้รีวิวของสักชิ้นเป็นเรื่องยาก
รูปที่ทดสอบนั้นก็ได้ไม่มากเท่าไหร่ แต่พอจะทดสอบพอให้รู้ถึงประสิทธิภาพของมันได้ครับ เป็นรูปธรรมดาๆที่ผู้ใช้ธรรมดาๆอย่างผมถ่ายนี่แหละครับ แหะๆ
ของขอโทษผู้ที่คอยรีวิวของผมด้วยนะครับ (จะมีใครรอเนี่ย!!)

ฝากโปรโมตเพจของผมด้วยครับ ฮา...
พอดีลองเอากล้องฟิล์มมาขายดูครับ เป็นรายได้เสริมเล็กๆน้อยๆ เล็กๆน้อยๆจริงๆครับ เพราะผมบวกกำไรน้อยมาก เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่ผมเจอ(หรือท่านอาจจะเจอเมื่อสั่งเข้ามา) ไม่ว่าจะเป็นได้ของเสียมา ของแตกหักระหว่างทาง ของไม่เป็นไปตามที่แจ้ง ภาษี เวลาที่ต้องรอคอย ฯลฯ โดยที่กล้องทุกตัวผมคัดมาแล้วครับว่าใช้งานได้เป็นอย่างดี จริงๆแล้วยังมีอีกสองสามตัวที่ไม่ได้เอามาขายเพราะมีปัญหาใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ หากเอามาขายผมจะแจ้งเอาไว้ว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง และท่านจะมั่นใจได้ว่า จะได้รับของที่ซื้อไปแล้วไม่มีปัญหา ไม่ต้องมานั่งปวดตับภายหลังครับ

https://www.facebook.com/BoatskiCamera

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

T_T

ช่วงนี้เงียบไปเลย

หมายถึงผมน่ะครับ

กำลังทะยอยถ่ายรูปเพื่อทำรีวิวเลนส์ Tokina AT-X Pro 17-35 mm F4

ขอบอกนิดนึงครับ

ที่ 35 mm F4 ตำแหน่งกลางภาพ

คมโคตรรร
คมกว่า 17-35 F2.8-4 ของ Tamron เสียอีก

กำลังจะทดสอบเรื่อง แฟร์ โกสต์ สีที่รูรับแสงกว้างสุด แต่เท่าที่ดูตอนนี้แล้ว Tokina ไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป...

แอร๊ย!!!

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ในที่สุด...

เพิ่งได้มีโอกาสได้ลองเจ้า Mamiya RB67 50mm f/4.5 ซึ่งเป็นตัวแรกก่อนที่จะมี C
ตัวใหญ่พอสมควร เกือบๆเท่าเลนส์ 90mm f/3.5 K/L เลย
เลนส์ตัวนี้กะจะเอาไปขายครับ แต่ก่อนขายต้องมาเช็คให้มั่นใจว่าไม่มีปัญหาเสียก่อน

...เดี๋ยวล้างฟิล์มออกมาจะรีวิวให้ชมครับ ^^

ในรูป ขนาดเทียบกับ Pentax SMC 55mm f/1.8 ครับ